วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ตัวกินมด



ตัวกินมด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Lesser Anteater(Southern tamandua)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tamandua tetradactyla
ลักษณะทั่วไป ขนสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม หูยาวกว่า Northern tamadua และกระโหลกกว้างกว่า สามารถเคลื่อนที่บนพื้นได้ดีพอ ๆ กับการปีนต้นไม้ หางของมันจะโค้งจับกิ่งไม้ได้เหมือนเป็นมือที่ 5 ขาหน้าจะมีนิ้วที่มีเล็บยาวประมาณ 2 นิ้วและนิ้วอื่น ๆ จะเล็กกว่า ขาหลังมี 4 นิ้ว และมีเล็บที่แข็งแรงมาก ใช้คุ้ยเขี่ยเศษใบไม้ตามพื้นหาอาหารกิน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบได้หลายบริเวณ เช่นที่ราบป่าดิบชื้นจนถึงที่ราบสูงป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบ ทุ่งหญ้า ป่าหนามสะวันนา ในอเมริกาใต้ พบบริเวณเทือกเขาแอนดิสทางตอนใต้ อาหารได้แก่ มด ปลวกและแมลงเล็ก ๆ หรือผลไม้ผลเล็ก ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มีความสามารถในการดมกลิ่นที่ดี มีประสาทหูไว และปรับตัวเก่ง ตัวเมียตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกจะเกาะหลังแม่ 3 เดือน ลูกจะอยู่ใกล้ชิดแม่เพื่อเรียนรู้และหาอาหาร 10-12 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะออกหากินเอง กินน้ำจากใบไม้ เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ตัวผู้จะดมและเลียปากตัวเมีย ขณะผสมพันธุ์มันจะกอดตัวเมียและกดตัวเมียลงที่ท้องของมัน ตัวเมียจะเป็นสัดทุก 4 สัปดาห์ สังเกตได้จากมันจะเฉื่อยชากว่าปกติ, นอนมาก และไม่อยากจะทำอะไร สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว